มุมมองกว้าง ๆ ของ จิตวิทยาเชิงบวก

สาขาจิตวิทยา "เชิงบวก" นี้ หมายให้เสริม ไม่ใช่ทดแทนหรือไม่ใส่ใจ ความรู้ทางจิตวิทยาโดยทั่วไปแต่เป็นการเน้นใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อศึกษาและกำหนดการพัฒนาบุคคลในเชิงบวก ซึ่งเข้ากับการศึกษาในจิตวิทยาโดยทั่วไปในประเด็นว่า การพัฒนามนุษย์สามารถถึงความล้มเหลวได้อย่างไรสาขาย่อยนี้ อาจชี้ให้เห็นว่า การสนใจแค่เรื่องของโรคอาจจะมีผลเป็นความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์หรือจำกัด เกี่ยวกับสภาพบุคคล[5]คำว่า "ชีวิตที่ดี" (the good life) ที่ดั้งเดิมมาจากแนวคิดของอาริสโตเติล มาจากความคิดต่าง ๆ กันว่า อะไรเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดในชีวิต คืออะไรเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมชีวิตให้ดีที่สุดให้บริบูรณ์ที่สุดแม้ว่าจะไม่มีนิยามที่แน่นอน แต่นักวิชาการในสาขานี้มีมติว่า บุคคลควรจะมีชีวิตที่มีความสุข (happy) ไม่อยู่ว่าง ๆ (engaged) และมีความหมาย (meaningful) เพื่อที่จะประสบกับ "ชีวิตที่ดี"ศาสตราจารย์มาร์ติน เซลิกแมน ผู้เปรียบได้ว่าเป็นบิดาของศาสตร์นี้ กล่าวถึงชีวิตที่ดีว่า "เป็นการใช้ความเข้มแข็งที่ไม่เหมือนใครของคุณทุก ๆ วัน ในการสร้างความสุขที่แท้จริงและความพอใจที่ล้นเหลือ"[6]

ประเด็นความสนใจของนักวิชาการในสาขานี้รวมทั้งสภาวะต่าง ๆ ของสุขารมณ์ (pleasure), flow, ค่านิยม, ความเข้มแข็ง (จุดแข็ง), คุณธรรม, ความสามารถพิเศษ (พรสวรรค์), และวิธีการที่ระบบและสถาบันทางสังคมสามารถสร้างส่งเสริมปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้[7]โดยมีประเด็นหลัก 4 อย่างดังต่อไปนี้คือ (1) ประสบการณ์เชิงบวก (2) ลักษณะทางจิต (psychological trait) ซึ่งคงทน (3) ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น (4) สถาบันที่ส่งเสริมการพัฒนาในแนวคิดนี้[8]นักวิจัยและนักปราชญ์บางพวก เช่น ศ. เซลิกแมน ได้เก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาทฤษฎีที่สามารถใช้เป็นแนวทาง (เช่น ทฤษฎี "P.E.R.M.A." หรือ หนังสือ Character Strengths and Virtues)

มีการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากศาสตร์นี้หลายอย่างแนวคิดหลักอย่างหนึ่งของสาขานี้ก็คือ บ่อยครั้งอนาคตมักจะเป็นเหตุชักจูงมนุษย์ และอาจจะมากกว่าอดีตศ. เซลิกแมน และ ศ. ชีกเซ็นมิฮาลี (ผู้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับ flow) นิยามจิตวิทยาเชิงบวกว่า "การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกิจกรรม (functioning) และความเจริญรุ่งเรือง (flourishing) เชิงบวกของมนุษย์ในหลายมิติรวมทั้งทางชีววิทยา โดยส่วนตัว โดยความสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยสถาบัน โดยวัฒนธรรม และโดยหลักทั่วไปของชีวิตอื่น ๆ"[9]ส่วนนักจิตวิทยาอีกคู่หนึ่งได้แสดงรูปแบบของสุขภาพจิต 4 อย่างคือ แบบเจริญรุ่งเรือง (flourishing) แบบดิ้นรน (struggling) แบบตะเกียกตะกาย (floundering) และแบบอ่อนกำลัง (languishing) แต่ว่า สุขภาพจิตที่สมบูรณ์จะเป็นการรวมตัวกันของความเป็นสุขทางอารมณ์ (emotional well-being) ความเป็นสุขทางจิต (psychological well-being) ความเป็นสุขทางสังคม และการมีโรคทางจิตน้อย[10]

นักจิตวิทยาโดยมากใส่ใจไปที่อารมณ์พื้นฐานของบุคคลโดยเชื่อว่ามีอารมณ์พื้นฐานระหว่าง 7-15 อย่างซึ่งอาจจะประกอบรวมกันเป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ละเอียดอ่อนหลายแบบหลายอย่างและบอกเป็นนัยว่า ความพยายามจะกำจัดอารมณ์เชิงลบจากชีวิตอาจมีผลที่ไม่ได้ตั้งใจ คือ เป็นการกำจัดประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ลึกซึ้งที่สุดทั้งโดยรูปแบบและโดยความละเอียดอ่อนนอกจากนั้นแล้ว ความพยายามเพิ่มอารมณ์เชิงบวกจะไม่มีผลอัตโนมัติเป็นการลดอารมณ์เชิงลบ และการลดอารมณ์เชิงลบก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีผลเป็นการเพิ่มอารมณ์เชิงบวก[11]ส่วนนักจิตวิทยาอีกคู่หนึ่งอธิบายว่า ปฏิกิริยาทางอารมณ์เป็นประสบการณ์ทางใจ (core affect) หลัก ซึ่งก็คือปฏิกิริยาทางอารมณ์พื้นฐานที่ประสบเสมอ ๆ แต่ไม่ได้สำนึกถึงซึ่งมีส่วนทั้งที่น่ายินดีและไม่น่ายินดี โดยมีมิติหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน[12]

ตั้งแต่ตั้งสาขานี้ขึ้นในปี 2541 ได้มีการลงทุนทางงานวิจัย ตีพิมพ์วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก จัดตั้งโปรแกรมการศึกษาต่าง ๆ ในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก และมีการออกข่าวในสำนักข่าวสำคัญต่าง ๆสมาคมจิตวิทยาเชิงบวกสากล (International Positive Psychology Association ตัวย่อ IPPA) พึ่งจัดตั้งขึ้นไม่นาน แต่ก็ได้ขยายเพิ่มสมาชิกเป็นพัน ๆ จากประเทศต่าง ๆ 80 ประเทศจุดมุ่งหมายขององค์กรรวมทั้ง[13](1) “ส่งเสริมศาสตร์จิตวิทยาเชิงบวกทั่วโลก และสร้างความมั่นใจว่า ศาสตร์นี้จะดำรงอยู่ในฐานของวิทยาศาสตร์”(2) “ดำเนินงานเพื่อประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงบวกอย่างมีประสิทธิผลอย่างมีความรับผิดชอบ ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งจิตวิทยาองค์กร จิตวิทยาเชิงให้คำปรึกษาและแบบรักษา ธุรกิจ สุขภาพ การศึกษา และการฝึกอบรม”(3) “อุปถัมภ์การศึกษาและการฝึกอบรมในสาขานี้”

เป้าหมาย

ในการบำบัดทางประชาน (cognitive therapy) จุดมุ่งหมายก็เพื่อช่วยให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเชิงลบ เพื่อเปลี่ยนความรู้สึกของตนวิธีนี้ใช้ได้ผลดี คือการเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับผู้อื่น เกี่ยวกับอนาคต และเกี่ยวกับตนเอง เป็นเหตุก่อความสำเร็จโดยส่วนหนึ่งกระบวนการความคิดที่มีผลต่อสภาวะทางอารมณ์ของเราแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลความสามารถในการถอนความสนใจไปจากความคิดซ้ำซากมีประโยชน์ต่อความอยู่เป็นสุขนอกจากนั้นแล้ว การเปลี่ยนแนวคิดในเรื่องเวลาสามารถมีอิทธิพลต่อความคิดของเราเกี่ยวกับความสุขศ. เซลิกแมนได้ระบุเป้าหมายอื่น ๆ เพื่อใช้ศาสตร์นี้ คือ สร้างครอบครัวและโรงเรียนที่ช่วยให้เด็กพัฒนา สร้างที่ทำงานโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความพอใจและผลิตผลที่สูง และการสอนผู้อื่นเกี่ยวกับจิตวิทยาเชิงบวก[14]

ใกล้เคียง

จิตวิทยา จิตวิทยาเชิงบวก จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ จิตวิทยาชุมชน จิตวิทยาเกสทัลท์ จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ จิตวิเคราะห์ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการเรียนรู้

แหล่งที่มา

WikiPedia: จิตวิทยาเชิงบวก http://www.cbc.ca/ideas/episodes/2011/06/20/say-no... http://awesomeculture.com/2011/09/13/the-science-o... http://doubtreligion.blogspot.com/2010/06/rd-extra... http://www.bmj.com/cgi/pmidlookup?view=long&pmid=1... http://www.cape-coral-daily-breeze.com/page/conten... http://www.chicagotribune.com/suburbs/northbrook/c... http://www.economist.com/node/17722557 http://www.economist.com/node/17722567 http://www.economist.com/world/na/PrinterFriendly.... http://www.forbes.com/2010/07/14/world-happiest-co...